วันเสาร์, 27 เมษายน 2567

อาศรม ๔ ความสันโดษที่หลีกเลี่ยงโลกกระแสนิยม

อาศรม ๔ คือ ขั้นตอนของชีวิต ของชาวฮินดูตามหลักคัมภีร์มนูธรรมศาสตร์ เป็นทางปฏิบัติเพื่อยกระดับชีวิตให้สูงขึ้น
คำว่า อาศรม ๔ คือบันได ๔ ขั้นของชีวิตความเป็นมนุษย์ เพื่อใช้ไต่ขึ้นไปจนสามารถเข้าถึงพรหมันในที่สุด ส่วนใน
มนูสมฤติได้กล่าวว่า อาศรมธรรมเป็นสถาบันทางสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการด้านจิตวิญญาณของมนุษย์ ประกอบด้วย

๑. อาศรมที่ ๑ (ปฐมวัย) เรียกว่า “พรหมจรรย์” เริ่มตั้งแต่อายุ ๘-๒๕ ปี ผู้เข้าสู่อาศรมนี้ เรียกว่า “พรหมจารี” ซึ่งมีหน้าที่ดังนี้

– ตั้งใจเรียนวิชาการในวรรณะของตน

– เชื่อฟังคำสอนของครูอาจารย์

– ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ

– ไม่คบกับเพศตรงข้าม

– เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วต้องทำพิธีเกศนตสันสกา (ตัดผม) และพิธีคุรุทักษิณามอบสิ่งตอบแทนครูอาจารย์

๒. อาศรมที่ ๒ (มัชฌิมวัย) เรียกว่า “คฤหัสถ์” อยู่ในช่วงอายุ ๒๕-๕๐ ปี มีหน้าที่ดังนี้

– ช่วยพ่อแม่ทำงาน

– แต่งงานมีครอบครัว

– ประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัว

๓. อาศรมที่ ๓ (ปัจฉิมวัย) เรียกว่า “วานปรัสถ์” อยู่ในช่วงอายุ ๕๐-๗๕ ปี มีหน้าที่ดังนี้

– มอบสมบัติให้บุตรธิดา

– บำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม

– ปฏิบัติธรรม

– ทำประโยชน์แก่สังคมด้วยการเป็นครูอาจารย์

๔. อาศรมที่ ๔ (สันยัสตา) อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ ๗๕ ปีขึ้นไป สำหรับผู้ปรารถนาความหลุดพ้น (โมกษะ) จะออกบวชเป็น “สันยาสี” เมื่อบวชแล้วจะสึกไม่ได้ บำเพ็ญสมาธิแสวงหาความหลุดพ้นตามหลักกรรมโยคะต่อ

เรียบเรียงข้อมูลโดย มูลนิธิบ้านธรรมธารา

ที่มาของภาพ : สังคมศึกษากับครูหัวฟู 
ที่มาของเนื้อหา : 84000 พระธรรมขันธ์